…. ข่าว "วงใน ลึก จริง" …

“ประกายรัตน์” อดีต กสม. ชี้มิติ”สิทธิมนุษยชน-สันติภาพ” งานป้องกันสำคัญกว่าการแก้ไข

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร อาจารย์ประจำวิชา สิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เปิดเผยที่ห้องพุทธปัญญา วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ว่า ในฐานะที่รับผิดชอบดูแลกระบวนการการเรียนการสอนของนิสิตระดับปริญญาโท หลักสูตรสันติศึกษา มจร รุ่น 10 ในรายวิชา “สิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรมเพื่อสันติภาพ” โดย อาจารย์ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันการศึกษาและพัฒนาการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (ส.พ.ส.) และเคยดำรงตำแหน่งผู้ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใต้หัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “สิทธิมนุษยชนเพื่อสันติภาพ: มองอดีต ปัจจุบัน อนาคตมิติสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย” โดยสะท้อนว่า “ฐานของสันติภาพคือเคารพสิทธิมนุษยชน”เพราะเรามีการละเมิดต่อมนุษยชนต่อกัน ซึ่งการละเมิดกลุ่มเปราะบางไม่สามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ เพราะมีการเปราะบางและละเอียดอ่อน โดยการเคารพสิทธิมนุษยชนจะนำไปสู่การเกิดสันติภาพ เพราะทุกคนต้องมีความเท่าเทียมกันโดยทุกคนต่างมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

อาจารย์ประกายรัตน์ กล่าวย้ำว่า งานป้องกันสำคัญกว่าการแก้ไข มิติของสิทธิมนุษยชน การสร้างสันติภาพ และรักษาสันติภาพ ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการรักษาสันติภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจึงถูกสร้างขึ้นมาหลังสงครามโกลครั้งที่ 2 ทุกคนในโลกแม้ต่างชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม แต่ทุกคนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ ความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นศักดิ์ศรีที่มีมาตั้งแต่กำเนิดและศักดิ์ศรีมาพร้อมกับสิทธิที่เท่าเทียม ไม่มีใครจะเอาไปจากตัวเราได้ โดยมองถึงการป้องกันความรุนแรง ซึ่งสิทธิมนุษยชนมอง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ติดตัวมาแต่กำเนิดของทุกคน โดยไม่เลือกว่าเป็นเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ถิ่นกำเนิด เพศ อายุ สีผิว เผ่าพันธุ์ ทรัพย์สิน ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนา หรือสถานะใดเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้”

อาจารย์ประกายรัตน์ ยังสะท้อนว่า ประเด็นเด็กได้รับผลประทบจากการใช้ความรุนแรงถือว่าละเมิดสิทธิเด็กอย่างรุนแรง ควรหาแนวทางป้องอย่างเร่งด่วน สื่อต้องระวังการละเมิดซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยมองว่ารัฐจึงต้อง “เคารพ ปกป้อง ทำให้เป็นจริง” ทำให้สิทธินั้นเป็นจริง โดยมองว่า “อย่ามุ่งแค่ความมั่นคงของรัฐเท่านั้นแต่จึงสร้างและพัฒนาความมั่นคงของความเป็นมนุษย์” ประชาชนมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อยู่อย่างไม่ระแวงจึงสอดรับการระบบโครงสร้างด้วยขอให้ทำเชิงป้องกันอย่างจริงจัง