…. ข่าว "วงใน ลึก จริง" …

“พระ​นาง​พญา” 1 ใน 5​ ชุดเบญจ​ภาคี​ เด่นทางเมตตา​ มหา​นิยม​แคล้วคลาด​ ปลอดภัย​

วัดนางพญา​ สันนิษฐาน​ว่าสร้าง​โดย​ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระองค์สร้าง​พระนางพญา​ในคราวบูรณปฏิสังขรณ์​วัด​ราช​บูรณะ​ พื้นที่​ติดกับ​วัด​พระศรี​รัตนมหาธาตุ​มหา​วิหาร(วัด​ใหญ่)​โดยมีถนน​จ่าการ​บุญคั่น​กลาง

นอกจาก​นั้น​อยู่​ติด​กับ​วัดราชบูรณะ​ แต่ปัจจุบัน​ถนน​สาย​มิตร​ภาพ​ตัดผ่าน​ ทำให้วัดนางพญา​กับวัดราชบูรณะ​ จำเป็นต้องตั้งอยู่คนละฝั่งถนนและได้​ขึ้น​ทะเบียน​โบราณ​สถานในปี​ พ.ศ.2497 เฉพาะ​วิหารปัจจุบัน​เป็นอุโสถ และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบ​ 2 องค์​

พระนาง​พญา​ กรุวัดนางพญา​ พิมพ์​ใหญ่​

วัดนางพญา​ไม่มีพระอุโบสถ​มีแต่วิหาร​ วัด​นี้มีชื่อ​เสียง​ในเรื่อง​พระเครื่อง​ คือ​ “นางพญา” ซึ่งเล่าลือกันถึงความศักดิ์สิทธิ์​ พระนาง​พญา​จึงเป็นพระสุดยอด​ หนึ่งในชุดเบญจ​ภาคี​

ปัจจุบัน​นี้หายากมากเป็นพระสุภาพ​สตรีที่เป็นนักปกครอง​และหัวหน้างานที่ต้องดูแลลูกน้องหรือพนักงานจำนวนมาก​ โดยมีความ​เชื่อ​ว่าจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา​ยำเกรงประดุจ “นางพญา”

พระ​ประธานในอุโบสถ​เรียก”พระ​สมเด็จ​นาง​พญา​เรือน” สร้างพระเครื่องพิมพ์​นางพญา​ และเจดีย์​เก่า 2 องค์​ มีมาคู่​กับวิหารนาง​พญา​ สร้าง​ขึ้น​เฉลิม​พระ​เกียรติ​์พระนางวิสุทธธิกษัตรีย์​ วิหารชำรุดทรุด​โทรม​ ทางวัดได้บูรณะของเก่า​ทำให้เป็นอุโบสถ​ ซึ่งพระบาทสมเด็จ​ภูมิพลอดุลยเดช​ รัชกาล​ที่​ 9​ พระราชทาน​พระฤกษ์​สร้างอุโบสถ​ เมื่อ​ปี​ พ.ศ.2521

พระ​นาง​พญา​ อายุ​การ​สร้าง​ประมาณ​ 400​ ปี​ เป็นพระพุทธรูป​ปาง​มารวิชัย​ ไม่​มีฐาน​ ไม่มีซุ้ม​ ตัดขอบ​เป็น​รูป​สามเหลี่ยม​ชิดกับองค์พระประทาน​ หลัง​เรียบ​ สันนิษฐาน​ว่า​ พระวิสุทธิกษัตรีย์​ พระ​มเหสี​ของ​พระมหาธรรม​ราชา​ และพระ​มารดาของพระสุพรรกัลยา​ สมเด็จ​พระ​นเรศวร​มหาราช​ และพระ​สมเด็จ​เอกาทศ​รถ​ เช่นนั้นพระวิสุทธิกษัตรีย์ได้ทรง​สร้าง​พระ​นาง​พญา​ ในคราวบูรณปฏิสังขรณ์​วัดราชบูรณะ​ ราวปี​ พ.ศ.2090-2100 และทรงสร้าง​”พระ​นาง​พญา” บรรจุในองค์​พระ​เจดีย์​ตามคติโบราณ​พิษณุโลก​เป็น​เมือง​ลูกหลวง​ และ​พระ​วิสุทธิกษัตรีย์ ดำรงค์​ตำแหน่ง​ยศ​ แม่เมือง​สองแคว​ และพระ​มหา​ธรรม​ราช​า​ ทรง​พระ​อิสริยยศ​ที่​ พระอุปราช​แห่งกรุงศรีอยุธยา​

วัดนี้ต่อมาได้ถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นเวลานานเนื่องจาก​มีเหตุผล​ศึก​สงคราม​ จนกระทั่ง​มีการขุดพบเจอ”พระ​นาง​พญา” วัด​นางพญา​จึงมามีชื่อเสียง​ ได้​มีการพบพระนาง​พญา​ครั้ง​แรกใน​ปี​ พ.ศ.2444 โดยทางวัดมีดำริสร้าง​ศาลาเล็ก​ๆ​ ขึ้น​บริเวณ​ด้านหน้า​ของ​วัด​ เพื่อ​เป็น​ปะรำพิธี​ในการรับเสด็จ​พระบาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้าอยู่​หัว​ รัชกาล​ที่​5​ เมื่อ​ครั้ง​เสด็จ​ประพาส​เมือง​พิษณุโลก​ ทอดพระเนตร​การ​หล่อ​พระ​พุทธ​ชิน​ราชจำลอง​ ครั้นพอขุดจะ​ลงเสาก็ได้​พบ”พระนาง​พญา” จำนวนมากฝังจมดินอยู่กับ​ซาก​ปรักหักพัง​จึง​ได้เก็บ​รวบรวม​ไว้​ และเมื่อพระ​บาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้าอยู่​หัว​ รัชกาล​ที่​5​ เสด็จ​ไป​ยัง​วัดนางพญา​ จึงนำพระ​นาง​พญา​ส่วน​หนึ่ง​ขึ้น​ทูล​เกล้า​ฯถวาย​ ครานั้น​พระองค์ทรง​แจกจ่ายแก่ข้าราชบริพาร​ที่ตามเสด็จ​กันโดยทั่วหน้า​ พระนาง​พญา​บางส่วน​จึงมีการนำกลับมายังพระนคร

พระนาง​พญา​ กรุวัดนางพญา​ พิมพ์​กลาง

ต่อมา​ใน​ปี​ พ.ศ.2470 พระ​อธิการ​ถนอม​ เป็น​เจ้า​อาวาส​ และตามธรรมชาติองค์​พระ​เจดีย์​ด้าน​ทิศตะวันออก​ของ​วัดได้​เกิด​พังทลาย​ลง​ ก็​ปรากฏ​พบพระ​นาง​พญา​อีกจำนวนหนึ่ง​ แต่​ก็ปรากฏ​ว่าชาวเมือง​พิษณุโลก​มิมีผู้ใดสนใจ​

ดังนั้น​ พระนาง​พญา​ที่พบเจอจึงถูก​เก็บ​ไว้​ใน​วัดนางพญา​ และ​บางส่วน​อาจถูก​นำไปบรรจุ​ยัง​กรุอื่นๆ​ ดังนั้น​ประวัติ​ความเป็นมา​ของ”พระนาง​พญา​ แห่งวัดนางพญา” จึงเป็นเหตุ​สำคัญ​ในการอ้างอิง​ถึงการพบพระนางพญา​ในกรุอื่น​ๆ​ ที่​ จังหวัด​พิษณุโลก​ รวมทั้งกรุงเทพ​มหานคร​ ก็มีการพบที่กรุวัดอินทร​าราม​ วัดเลียบ​ สันนิษฐาน​ว่า​เป็น​พระที่ได้มาเมื่อปี​ พ.ศ.2444​ แล้วนำมาบรรจุกรุในเจดีย์​ตามวัด​ต่าง​ๆจะมีอยู่มาก​น้อย​ ไม่สามารถระบุได้ แต่เมื่อผ่าน​กาลเวลา​ สภาพ​องค์​พระ​ในแต่ละสถานที่ย่อมแตกต่าง​กัน​ไปตามสภาพกรุที่บรรจุ​

อย่างไรก็ตาม พระ​นาง​พญา​ แห่งวัด​นางพญา​ เป็น​พระเนื้อดินเผา​ องค์​พระจึงมีสีไม่เหมือน​กันและเนื้อดินมีขนาดแตกต่างขึ้นอยู่กับหดตัวของดินเมื่อถูก​เผาตามอุณหภูมิ​ พุทธ​ศิลป์​ผสมผสาน​ระหว่าง​ศิลปะสุโขทัย​และอยุธยา​ ผ่านกาลเวลามานานจึงมีรอยเหี่ยว​ย่น​จากการหดตัวของมวลสาร

ปัจจุบันพระ​นาง​พญา​จึงได้​ถูก​จัดให้เข้ามาอยู่ในชุดเบญจา​ภาคี​ เพราะเป็นพระเครื่อง​ที่สุดยอดปรารถนา​ของนักนิยมพระเครื่อง​ ผู้​ใดได้ครอบครอง​เป็นเจ้าของเชื่อว่าผู้นั้นเปี่ยม​ด้วยวาสนา​ บารมี​ เฉกเช่น​เดียว​กับ​ “ปิยะวัฒน์ ปานเอี่ยม” (ต้อ​ พิษณุโลก)​ ​ที่มีความชื่นชอบ​พระกรุพิษณุโลก​เพราะ​ชอบในความงามของพุทธศิลป์​ที่อยู่ในองค์​พระขณะเดียวกัน “ต้อพิษณุโลก”ก็เป็นลูกหลานชาวจังหวัด​พิษณุโลก​ วิทยฐานะ​จบปริญาตรีสาขา​อุตสาหกรรม​ศิลป์​ เคยเข้าไปเป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัย​เทคนิค​พิษณุโลก​

ปัจจุบัน​ได้ลาออก​จากเป็นอาจารย์​มาประกอบธุรกิจ​ส่วนตัว​ เข้ามาสะสม​และศึกษา​พระกรุเมือง​พิษณุโลก​และต่อยอดเป็นพระกรุจังหวัดใกล้เคียงโดยเริ่มสะสมและศึกษาพระเครื่อง​เมื่อ​ปี​ พ.ศ.2540

ปิยะวัฒน์ ปานเอี่ยม (ต้อ​ พิษณุโลก)

ที่สำคัญ พระนางพญาที่บูชาก็มีประสบการณ์​เกิด​ขึ้น​กับ​ ต่อ​ พิษณุโลก​ “ต้อ”เล่าว่าตอน​นั้นพึ่งเรียน​จบมาใหม่​ และได้ขับรถมอเตอร์ไซค์ไปหาพระภิกษุที่นับถือและท่านได้มอบพระนางพญา​มาองค์หนึ่งเพื่อ​รับขวัญ​ที่เรียนจบการศึกษา หลังจากนั้นก็ขอลาพระภิกษุที่นับถือกลับบ้านโดยการขับรถ​มอเตอร์โชค์ แต่ด้วยวันหนุ่ม วัยคะนองบวกกับได้พระนางพญา ความดีใจ จึงได้ขับเร็วกว่าปกติ เพราะต้องการจะนำพระนางพญาไปอวดกับครอบครัว จึงได้เกิดอุบัติเหตุ​ขึ้น ส่งผลให้ร่างกายกระเด็น​หลุดจาก​ตัวรถมอไซต์ทันที แต่อภินิหารมีจริงเหมือน​มีมือใหญ่​ๆมารับเอาไว้จึงไม่ได้รับอันตราย​เพียงแค่​มีบาดแผลเล็กน้อย​แต่รถพังยับเยิน​

เหตุการณ์ครั้งนั้น​ไม่เคยลืม​จนถึงทุกวันนี้​ว่ามีพระนางพญาขึ้นคอ ทุกก้าวเดิน จะโชคดีแคล้วคลาด​ ปลอดภัย​

พระนาง​พญา​ แห่งวัดนางพญา​ เป็น​พระ​เครื่อง​ที่มีความสำคัญ​ ที่ปรากฏ​หลักฐานการสร้างและการค้นพบมาแต่โบราณ​ และด้วยพุทธ​ลักษณะ​อันงดงาม​ กอปรกับพุทธ​คุณที่ปรากฏ​เป็น​เลิศทั้ง​เมตตา​มหา​นิยม​ อำนา​จ​วาสนา​บารมี​ แคล้วคลาด​ คงกระพัน​ชาตรี​ เป็น​ที่กล่าวขาน​ จึง​ได้รับ​การ​ยกย่อง​ให้เป็นหนึ่งในห้า”พระเบญจ​ภาคี”
มาถึงทุกวันนี้

One thought on ““พระ​นาง​พญา” 1 ใน 5​ ชุดเบญจ​ภาคี​ เด่นทางเมตตา​ มหา​นิยม​แคล้วคลาด​ ปลอดภัย​

Comments are closed.