…. ข่าว "วงใน ลึก จริง" …

“รู้จักกัญ:สถานการณ์ผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาต่อเด็กและเยาวชน” “ห่างกัญนะ”

เครือข่าย Youth Network Against Cannabis (YNAC) จัดงานเสวนาให้ความรู้ประชาชนถึงสถานการณ์ผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาต่อเด็กและเยาวชน ทางออนไลน์ ในวันที่ 28 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นกัญชามาเล่าข้อมูลล่าสุดให้ฟัง

นายวัชรพงศ์ พุ่มชื่น นักพัฒนาวิชาการ ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า จากการที่เครือข่ายภาคประชาชนไปลงพื้นที่ทำงานเรื่องป้องกันยาเสพติด ไปเจอเด็กประถมรวมกลุ่มสูบกัญชา เอาดอกกัญชามาจากเพื่อน ไปดูยูทูปแล้วทำบ้องกัญชากันเอง โดยใช้ขวดน้ำอัดลมขนาดสองลิตรมาทำ และที่น่ากลัวยิ่งขึ้นไปอีก คือ พบว่ามีผู้เสพกัญชาที่เริ่มใช้ผงขาวมาโรยหน้ากัญชา หรือที่เรียกว่า แป๊ะ เพื่อให้แรงขึ้น ถึงใจขึ้น ตอนนี้การเสพกัญชาของเยาวชนกำลังขยายตัวกว้างขวางขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชุมชนเมือง พ่อแม่ผู้ปกครองหลายล้านคน หลายแสนครอบครัวกำลังคิดไม่ตกว่าจะดูแลลูกหลานของพวกเขาอย่างไรภายใต้สถานการณ์ปลดดล็อกกัญชาแบบนี้ ผู้มีอำนาจจะกำหนดนโยบายโดยไม่สนใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในสังคมไม่ได้

ศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ นายกสมาคมจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย ตามที่มีการถอดกัญชาจากยาเสพติดโดยกฎกระทรวงสาธารณสุข สถานการณ์ในสองเดือนที่ผ่านมาพบว่ามีการใช้กัญชาจนเกิดอันตรายทั้งมีด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ตลอดจนเกิดปัญหากับเด็กและเยาวชนตามที่ปรากฏในข่าว จึงมีข้อห่วงใย ที่ประชาชนและสื่อมวลชนควรร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐสภาออกมาตรการ หรือให้ พรบ.กัญชากัญชงมีเนื้อหาที่ครอบคลุมข้อห่วงใยดังต่อไปนี้

  1. มีความเข้าใจผิดว่าการปลดล็อกกัญชาแปลว่ากัญชาปลอดภัยที่จะใช้แบบพืชทั่วไป ทั้งที่ในทางการแพทย์ยังถือว่ากัญชามีฤทธิ์เสพติด สามารถทำให้เมาจนเกิดอันตรายได้
  2. แม้ว่าใน พรบ.กัญชา จะห้ามจำหน่ายช่อดอกแก่เด็กและเยาวชน แต่การให้ปลูกในครัวเรือนเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้โดยง่าย
    3.การอนุญาตให้มีการโฆษณากัญชาหรือผลิตภัณฑ์จะส่งผลกระทบให้เด็กและเยาวชนอยากใช้กัญชามากขึ้นได้
  3. การอนุญาตให้สูบกัญชา(ไม่ใช่ที่สาธารณะ) ไม่ใช่การใช้กัญชาทางการแพทย์ การอนุญาตให้สูบกัญชาในครัวเรือนจะส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน
  4. ผลกระทบของกัญชาต่อเด็กและเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าเด็กและเยาวชนไม่ได้เป็นผู้ใช้เอง แต่เกิดจากคนในครอบครัวใช้
  5. การใช้กัญชาไม่ได้เกิดผลกระทบเพียงระยะสั้น เช่น การเมา เท่านั้น แต่สามารถเกิดผลระยะยาวได้ ได้แก่
  • ผลต่อสติปัญญา ความสามารถในการเรียนรู้
  • ทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอารมณ์เศร้า โรคจิตสูงขึ้น
  • มีโอกาสที่จะมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือลงมือทำมากขึ้น
  1. ถ้าผู้ปกครองใช้กัญชาจะส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนได้แก่
  • ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของเด็ก การใส่ใจดูแลลดลง
  • มีรายงานพบว่าทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายและการล่วงละเมิดเด็กมากขึ้น

ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ได้กล่าวถึงการใช้กัญชาทางสายกลาง เพราะในตัวกัญชาแล้วมีทั้งประโยชน์และโทษ และสาระสำคัญในกัญชา cannabinoid มีถึงกว่า 500 ชนิด ที่มีการศึกษากันมาคือ 1. THC (มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท,สารเมา) 2. CBD (ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท,ลดอักเสบ,ฯลฯ) และถ้าหามีการเผาไหม้ จะมีสารเคมีอีก 2,000 ชนิด การสกัดกัญชา ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการแพทย์ ของแพทยสภา ที่มาใช้ในการรักษา ภาวะคลื่นไส้อาเจียน ในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด แก้อาการภาวะปวดประสาท ที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้วไม่ได้ผล โรคลมชักที่รักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อยา ฯลฯ และในต่างประเทศที่แคนาดาและบางรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้กัญชาสกัดช่วยให้ผู้ป่วยทานได้ นอนหลับ ลดปวด ลดการใช้อนุพันธ์ฝิ่น/สารเสพติดอื่น ลดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ใช้กัญชาทดแทนได้ รวมถึงใช้ในการนันทนาการ ลดปวด ลดความเครียด ความกังวล ภาวะซึมเศร้า เพิ่มความอยากอาหาร และในทางกลับกัน ผลกระทบที่มาจากการเปิดกัญชาเสรี ก็เป็นดาบอีกคมที่หลายๆ คนมองข้ามไปไม่ว่าจะเป็น ส่งผลลบต่อการพัฒนาทางสมองของเยาชน ก่อให้เกิดอาการวิกลจริต โรคจิตเภท เพิ่มขึ้น

กัญชาทางสายกลาง = ความพอดี = ได้ประโยชน์ไม่เกิดโทษ ไม่มีประเทศใดในโลกที่มีนโยบายกัญชาเสรี โดยไม่มีการควบคุมใด ถ้าหากมุมมองในระดับบุคคล การใช้กัญชามีประโยชน์และโทษระดับบุคคลอย่างไรควรใช้กัญชาในมุมมองระดับสาธารณะ(ดูแลสภาพแวดล้อม) นโยบายกัญชามีด้านและลบอย่างไร กับใคร ทั้งนี้นโยบายของกัญชาของประเทศไทย มี 5 ระดับ

  1. การห้ามโดยสิ้นเชิง(prohibition) ปี 2522 (พรบ.ยาเสพติดให้โทษ)
  2. การลดอาชญากรรม (prohibition)
  3. กัญชาทางการแพทย์ (medical cannabis) ปี 2562 (พรบ.ยาเสพติดให้โทษ)
  4. กัญชาเสรี แบบควบคุมเข้มงวด (medical cannabis)
  5. กัญชาเสรีในตลาดแข่งขันเสรี (legalization under free market) ปี 2565 (ประมวลกม.ยาเสพติดให้โทษ+ประกาศ ก.สธ.)
    ถ้าหากในกลุ่มบุคคลทั่วไปใช้กัญชาอย่างถูกต้อง และในระดับสาธารณะเองก็ต้องออกแบบนโยบายให้ถูกต้องเช่นกัน เพราะการปลดพืชกัญชาจากการเป็นยาเสพติดกับการไม่มีมาตรการควบคุมที่เพียงพอเท่ากับกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศ(กัญชาเสรีสุดโต่ง)

กัญชาทางสายกลาง (คือกัญชาที่ทางการแพทย์เข้าถึงได้)

  1. กัญชามีทั้งประโยชน์และโทษ
  2. ต้องแก้ต้นเหตุควบคู่ไปกับการแก้ปลายเหตุ(เตือนประชาชน/รักษาการเจ็บป่วย)
  3. ต้องปิดสุญญากาศกัญชาเสรี “ทันที”และ “ให้เวลา”กับการออกแบบกฎหมายกัญชาที่รอบคอบ รัดกุมโดยฟังเสียงผู้เกี่ยวข้องรอบด้าน
    (ไม่ควรยอมรับ พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ในสภาฯ ตอนนี้เนื่องจากเป็นกฎหมายที่มุ่งกัญชาเสรีเพื่อนันทนาการ ผิดหลักการที่อ้างไว้ตอนต้น คือกัญชาทางการแพทย์ และกัญชาเพื่อเศรษฐกิจ)
    จากภาวะสุญญากาศกัญชาเสรีในขณะนี้ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงกัญชาได้อย่าง
    ง่ายดาย จึงของเชิญชวนทุกท่านร่วมลงชื่อใน change.org/DelayCannabisLaw เพื่อเป็นการรวมพลังให้เห็นว่าประชาชนไม่ต้องการภาวะสุญญากาศกัญชาเสรีในขณะนี้ และต้องการเวลาสำหรับการออกแบบนโยบายกัญชาที่รอบคอบ รัดกุม โดยเปิดโอกาศให้มีการรับฟังความคิดเห็นรอบด้านเพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทยทั้งประเทศ และเพื่อปกป้องอนคตลูกหลายไทย

ผศ.ดร.ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา กรรมการบริหารหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้กล่าวถึงสถานการณ์ของประชาการของไทยหากจำนวนประชากรในประเทศลดลง จะเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงวัยเร็วขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวจะทำให้เด็กที่น้อยลงก็จะทำให้พัฒนาที่ยากขึ้น และในสถานศึกษาเองก็มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชง ทั้งในสถานศึกษาและส่วนราชการหรือหน่วงงานในสังกัด หรือในกกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีดังนี้

  1. ห้ามใช้กัญชาหรือกัญชงกับนักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากรโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีผลต่อการพัฒนาสมองของนักเรียนนักศึกษาหรือบุคลากร
  2. ห้ามมิให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากร ของสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงาน ในสังกัดและ ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ใช้กัญชาหรือกัญชง เพื่อการนันทนาการใด ๆ เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น อาการทางจิต และระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกา
  3. งดจําหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีการผสมส่วนใด ๆ ของกัญชาหรือกัญชง อีกทั้งห้ามมิให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากรของสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ นําอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการผสมส่วนใด ๆ ของกัญชาหรือกัญชง เข้ามาบริโภคในสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงาน ในสังกัดและ ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการอย่างเด็ดขาด
  4. ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม การจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม หรือการผลิตสื่อนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้กัญชาหรือกัญชง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชงที่เกินปริมาณ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ
  5. ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม การจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม หรือการผลิตสื่อนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้กัญชาหรือกัญชง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชงที่เกินปริมาณ ๆ
  6. ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการอาจออกมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดจากกัญชาหรือกัญชงได้

จากการฟังข้อมูลสถานการณ์ล่าสุดจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย ซึ่งพบว่าขณะนี้มีการขายกัญชากันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสื่อที่เข้าถึงเยาวชนได้มาก และเริ่มมีเด็กและเยาวชนทดลองเสพกัญชามากขึ้น อีกทั้งข้อมูลบ่งชี้ชัดเจนว่าการเสพกัญชาส่งผลกระทบทางลบมากมาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จึงอยากเรียกร้องให้เพื่อนๆพาตนเองให้ห่างไกลจากกัญชา พ่อแม่ ผู้ปกครองและครู โปรดช่วยกันให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนให้ห่างไกลจากการเสพกัญชา ตามสโลแกนของการรณรงค์ของเราว่า “ห่างกัญนะ” และอยากเรียกร้องให้ช่วยกันส่งเสียงขอให้กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลทำการปิดกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศทันที เพื่อปกป้องอนาคตของเด็กและเยาวชน เพื่อให้เป็นประเทศไทยที่แข็งแรงต่อไป