…. ข่าว "วงใน ลึก จริง" …

อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา “มจร” เสนอพุทธสันติวิธีเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งในองค์กรยุคใหม่

วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ ที่อาคาร Knowledge Exchange Conter กรุงเทพมหานคร พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. วิทยากรต้นแบบสันติภาพ กระบวนกรธรรมะโอดีพัฒนาองค์กร อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ในฐานะทำงานด้านสันติศึกษาดูแลศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร แบบมิติเชิงบูรณาการจึงเข้าเรียนรู้ในมิติเกี่ยวกับ Art of Conflict Transformation in Organization ศิลปะการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งสู่การพัฒนาองค์กร ถือว่าเป็น Module ๓ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของ Module นี้ โดยเริ่มต้นจากความขัดแย้งในองค์กรซึ่งเป็นหยินหยางแห่งความขัดแย้งโดยมีสลับบทบาท (Roles Switching) ต่างๆในองค์กร โดยมี ๒ ด้านในวงกลม ประกอบด้วย ๑)ด้านมืด คือ ตัวป่วน กบฎ ผู้เก็บกวาด ผู้ก่นด่า ผู้โด่ดเดี่ยว ผู้จารณ์ อิสระไร้ขีด ไม้ตายซาก ๒)ด้านขาวคือ ผู้สั่งสอน ผู้เด็ดขาด ผู้คุมกฎ ผู้ตัดสินใจ ผู้เข้าใจ ผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ผู้ดุดันชัดเจน ผู้ปกป้อง ผู้ตัดสินใจ ถ้ามีผู้นำเป็นอินทรีย์กระทิงจะต้องมีการเก็บกวาด ซึ่งผู้นำเข้มแข็งมากจะทำให้ผู้ตามมีการตามตลอดเวลา ผู้นำควรไปอยู่ในบทที่อ่อนแอบ้างเพื่อให้ผู้ตามได้ฉายแสงบ้าง โดยผู้นำที่มี Rank สูง จะต้องนำเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น แต่ตัวป่วนในองค์กรอาจจะนำไปสู่ผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ในองค์กร

ทำไมในองค์กรจึงมีคำว่า “ไม้ตายซาก ตัวป่วนในองค์กร”หรือ การแกล้งตายหมดชีวิตชีวา จึงต้องมองไปสมุทัยในอริยสัจโมเดลคือ สาเหตุที่ทำให้เกิดคำว่าไม้ตายซาก หรือตัวป่วน จึงต้องมองระบบนิเวศในองค์กรว่าเป็นอย่างไร ? โดยมอง ๑)Rankภายนอก เป็นสถานะทางโครงสร้างและสังคม มีอำนาจในการตัดสินมากกว่าคนที่มี Rankต่ำในองค์กร สามารถตัดสินใจได้มากกว่า เสียงที่พูดจะได้รับการได้ยินมากกว่า เป็นที่ยอมรับและได้รับเกียรติมากกว่า คนอื่นมองเห็นมากกว่า เวลาพูดจะได้รับการเชื่อถือมากกว่า ทำให้คนที่มีRank ทางโครงสร้างและสังคมต่ำไม่กล้าพูด นิ่ง เพิกเฉย แห้งเหี่ยว เก็บกด กดไว้นานๆ ทำให้เกิดความขัดแย้ง เพราะไม่สามารถที่จะพูดได้ จึงรอการระเบิด ๒)Rankภายใน ในเชิงจิตวิทยาและจิตวิญญาณ แต่คนที่มีRankสูงอาจจะมองว่าปัญหาของคนที่มีRankต่ำว่า อย่าคิดมาก โดยมองไม่เห็นความทุกข์ของอีกฝั่งหนึ่ง จึงต้องสร้างการตระหนักรู้ การมีRankของแต่ละคนจะต้องไม่ไปกดทับหรือขยี้ใคร แต่จงนำไปช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งคนRankสูงเป็นประเด็นเพราะมีอำนาจและสิทธิพิเศษ เราจึงต้องโฟกัส ซึ่งผู้ตามบางคนอาจจะ Rank สูงกว่าผู้นำ

กรณีศึกษา: โดยให้นึกถึงบุคคลที่ขัดแย้งในองค์กรในระดับเข้มข้นปานกลาง โดยนึกถึงคู่กรณี โดยนึกถึงจำนวน Rank ที่เรามีสูงกว่าคู่กรณีที่มีความขัดแย้ง เรามีสิทธิพิเศษอะไรที่เขาไม่มี และเรามี Rank ต่ำอะไรกว่าคู่ขัดแย้ง สิทธิพิเศษอะไรที่เขามีแต่เราไม่มี พร้อมถามว่า ถ้าเรามีสิทธิพิเศษที่เขามีชีวิตเราจะเป็นอย่างไร? สะท้อนถึงการรับรู้ช่องสัญญาณและขยายช่องสัญญาณ โดยผู้ที่มี Rank สูงจะมีสิทธิพิเศษมากมายจึงมุ่งโฟกัสไปเป้าหมายโดยไม่มองความรู้สึกผู้มี Rank ต่ำในองค์กร แต่ควรมององค์กรเป็นสำคัญ อย่าให้ความขัดแย้งส่วนตัวมาก่อให้เกิดปัญหาส่วนร่วมขององค์กร Rankสูง ควรหาโอกาสในสื่อสารอย่างเข้าใจกับRank ต่ำ เป้าหมายจะต้อง “เปลี่ยนความขัดแย้งเป็นความร่วมมือ” มุ่ง How คืออย่างไร มากกว่า Why คือ ทำไม โดยคนที่ Rankสูง จะต้องระวังแม้จะมีพื้นที่ปลอดภัยแต่คนRank ต่ำ ก็ยังระแวงอยู่ตลอดเวลา แต่Rankสูงจะต้องมีการสนทนาให้มากยิ่งขึ้นโดยหาความร่วมมือ สอดรับกับโยนิโมนสิการในหัวข้อวิภัชชวาทีแปลว่ามองแบบแยกแยะแยกส่วนอย่างเข้าใจ นึกถึงมุมมองของคนที่มี Rankต่ำกว่า ส่วนการมองแบบสุดโต่งคือเอกังสวาที เป็นการมองแบบมุมเดียวมองแต่มุมของตนเอง โดยไม่สนใจความรู้สึกความต้องการที่แท้จริง

โดยความขัดแย้งระหว่างบุคคลมีการยืนอยู่คนละฝั่งโดยมีขอบกั้นไว้ ทำอย่างไรจะให้ทะลุขอบไปเข้าใจในแต่ละฝั่ง จึงต้องหาแก่น (Essence) ของความจริงของทั้งสองฝั่งสองฝ่าย โดยความขัดแย้งระหว่างบุคคลในการฝึกจึงมองถึงการพูด น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง ท่วงท่าเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่มองไม่เห็นความขัดแย้งที่หลบในทั้งสองฝ่ายจะต้องสลับบทบาทซึ่งกันและกัน เมื่อเราจะเข้าไปคุยกับผู้ที่มี Rank สูงจะต้องมีความอ่อนน้อมมีท่าทีที่มีความนุ่มนวลเพื่อการสื่อสารอย่างเข้าใจ จึงมีประเด็นสะท้อนในคลี่คลายของความขัดแย้งระหว่างบุคคล โดยการเข้าใจอย่างเข้าใจโดยการจุดร่วมกัน เมื่อเราRank ต่ำกว่าจะต้องขยายตนเองให้มีความชัดผ่านความรู้สึกจากภายใน โดยภาษากายหรืออวัจนภาษามีความสำคัญมากในการสลายความขัดแย้ง นำไปสู่ความต้องการความรู้สึกรวมถึงการสลับบทบาทนั้นๆ แต่การสลายความขัดแย้งได้ จะต้อง

๑)ต้องสมัครใจ
๒)หาความร่วมมือ
๓)เยียวยาความเจ็บปวด
๔)ค้นหาความต้องการที่แท้จริง
๕)กระบวนการขอโทษอย่างจริงจัง
๖)รักษาความสัมพันธ์คืนดีต่อกัน

การสลายความขัดแย้งอย่ามุ่งแก้ผ่านการคิดหรือหัวเท่านั้น แต่ควรสลายจากภายในหรือหัวใจ โดยการเข้าใจคนอื่นอย่างจริงจัง โดยมือใหม่ต้องมองถึงฐานกาย ซึ่งทัศนคติใหม่ต่อความขัดแย้งจะต้อง “ติดตามกระบวนการไป : Follow the Process” ซึ่งความขัดแย้งคือทางลัดสั้นที่สุดสู่มิตรภาพ ความสัมพันธ์ และทีมเวิร์ค จึงเปรียบกระบวนกรเหมือนการเล่นกระดานโต้คลื่นให้มีความไหลลื่นหรือกระบวนกรอาจจะตกกระดานบ้างก็ได้ ซึ่งองค์กรต้องการความสมดุลแบบองค์รวมไม่สามารถแยกส่วนได้ จึงระวังการตกคลื่นแต่ถ้าตกก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้พัฒนาตนเอง

จึงสรุปว่ามิติของความขัดแย้งโดยสอดรับกับกระบวนการพุทธสันติวิธี อันประกอบด้วย สังวรปธานสำคัญที่สุดคือ ๑)การป้องกันความขัดแย้ง จะมีวิธีการอย่างไรไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ๒)การแก้ไขความขัดแย้งเราควรจะใช้เครื่องมืออย่างไร ? ๓)การเยียวยาจากความขัดแย้งเราควรใช้เครื่องมืออะไร และ ๔)จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอย่างไรไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีกโดยมุ่งร่วมมือในการพัฒนาองค์กร โดยประเด็นสำคัญทำอย่างให้ Rank สูงกับ Rank ต่ำ ต่างเรียนรู้ เคารพ ยอมรับ ให้เกียรติ แลกเปลี่ยนในความแตกต่าง นำไปสู่ความร่วมมือพัฒนาองค์กรเกิดสันติสุข ประเด็นที่อยากฝากคือ ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทำอย่างไรให้ความสัมพันธ์กลับมาดีเหมือนดั่งเดิม เพราะเป้าหมายสูงสุดในการสลายความขัดแย้ง คือ รักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่จากเป็นต่อกัน(เกิดความขัดแย้ง) แต่ต้องยกระดับไปสู่การจากตายตามกฎของไตรลักษณ์ โดย Art of Conflict Transformation in Organization ศิลปะการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งสู่การพัฒนาองค์กร จึงสามารถนำไปบูรณาการได้เป็นอย่างดี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/uca9fa88/public_html/wp-includes/functions.php on line 5349